บทความเรื่องความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือครูจะต้องมีความรู้ที่ครอบคลุมรู้ลึก รู้จริงและรู้กระจ่างแจ้ง การที่ครูจะให้ศิษย์ทำอะไรเป็น ครูจะต้องทำเป็นก่อนและที่สำคัญเรียนรู้อะไรแล้วต้องรู้จักนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับชีวิตของตนเองไม่ใช่ลอกเลียนแบบของเขาทั้งหมด เพราะการเลียนแบบนั้นจะไม่เกิดผลประโยชน์กับตนเอง เมื่อรู้แล้วจะต้องนำมาปฏิบัติไม่ใช่เก็บความรู้ไว้ในตำราเรียน
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ถ้าได้เป็นครูผู้สอนดิฉันจะนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนคือจะเป็นผู้ที่เน้นการศึกษาและผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังที่พระองค์ได้เป็นแบบอย่างคือได้ทำให้ดูเพื่อที่พยายามจูงใจผู้เรียนให้มาสนใจ และจะอยู่บนฐานความดี และความถูกต้อง
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
จะออกแบบการสอนโดยเน้นให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น รู้จักการแก้ปัญหาอย่างเช่น ถ้าครูจะสอนเกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วม อันดับแรก คือ ครูจะร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับนักเรียน หลังจากนั้นให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุและก็ปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วก็นำปัญหาที่ได้มาการแก้ปัญหาดังกล่าวสามารถนำแนวทางใดมาใช้ในการแก้ปัญหาได้บ้างเช่น หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากนั้นก็สรุปแบบองค์ความรู้ที่สมบูรณ์อีกครั้ง
บทความวิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์ THE STEVE JOBS WAY
ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
บนโลกแห่งโลกาภิวัตน์ใบนี้
เป็นสิ่งที่ผู้คนปฏิเสธไม่ได้ในเรื่องของเทคโนโลยี
ซึ่งผู้ที่หลายคนยอมรับว่าเขามีบทบาทในเรื่องนี้คือ สตีฟ จ๊อบส์ สตีฟ จ๊อบส์ คือ
มนุษย์ผู้หนึ่งที่มิได้มีมนต์วิเศษใดใดแต่เขาเป็นผู้ที่มีปัญญาสูง มีสมองที่ดีมาก
มีความฉลาด ฉลาดในการวางแผน ฉลากในการเลือกเพื่อนร่วมงาน
เขาสามารถผลิตเทคโนโลยีพลิกโลกให้เปลี่ยนไป ดังที่รู้ว่า เขาและทีมงานเป็นผู้ผลิต
ไอแพด ไอพอด ไอโฟน และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้เกิดจากสมองและสองมือทั้งสิ้นจนอาจกล่าวได้ว่าอารยธรรมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และทำให้ให้โลกก้าวทันเทคโนโลยีมากขึ้น
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ดิฉันจะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา
โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ดีที่สุดและทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใดก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างเต็มที่
เพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความสามารถที่เขามีออกมา
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ในอนาคตดิฉันจะเป็นครูผู้สอนและดิฉันจะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดยผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ
สามารถนำไปใช้ได้จริงดิฉันจะนำมาประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
จะจัดกิจกรรมผู้เรียนรู้มากที่สุด
และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถของเขามากที่สุดเพื่อที่จะต่อยอดความสามารถของเขาได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น