วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน

บทความเรื่องความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือครูจะต้องมีความรู้ที่ครอบคลุมรู้ลึก รู้จริงและรู้กระจ่างแจ้ง การที่ครูจะให้ศิษย์ทำอะไรเป็น ครูจะต้องทำเป็นก่อนและที่สำคัญเรียนรู้อะไรแล้วต้องรู้จักนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับชีวิตของตนเองไม่ใช่ลอกเลียนแบบของเขาทั้งหมด เพราะการเลียนแบบนั้นจะไม่เกิดผลประโยชน์กับตนเอง เมื่อรู้แล้วจะต้องนำมาปฏิบัติไม่ใช่เก็บความรู้ไว้ในตำราเรียน
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
                ถ้าได้เป็นครูผู้สอนดิฉันจะนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนคือจะเป็นผู้ที่เน้นการศึกษาและผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังที่พระองค์ได้เป็นแบบอย่างคือได้ทำให้ดูเพื่อที่พยายามจูงใจผู้เรียนให้มาสนใจ และจะอยู่บนฐานความดี และความถูกต้อง
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
                จะออกแบบการสอนโดยเน้นให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น รู้จักการแก้ปัญหาอย่างเช่น ถ้าครูจะสอนเกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วม อันดับแรก คือ ครูจะร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับนักเรียน หลังจากนั้นให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุและก็ปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วก็นำปัญหาที่ได้มาการแก้ปัญหาดังกล่าวสามารถนำแนวทางใดมาใช้ในการแก้ปัญหาได้บ้างเช่น หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากนั้นก็สรุปแบบองค์ความรู้ที่สมบูรณ์อีกครั้ง

บทความวิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์ THE STEVE JOBS WAY

ข้อสรุปที่ได้จากบทความ


           บนโลกแห่งโลกาภิวัตน์ใบนี้ เป็นสิ่งที่ผู้คนปฏิเสธไม่ได้ในเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งผู้ที่หลายคนยอมรับว่าเขามีบทบาทในเรื่องนี้คือ สตีฟ จ๊อบส์ สตีฟ จ๊อบส์ คือ มนุษย์ผู้หนึ่งที่มิได้มีมนต์วิเศษใดใดแต่เขาเป็นผู้ที่มีปัญญาสูง มีสมองที่ดีมาก มีความฉลาด ฉลาดในการวางแผน ฉลากในการเลือกเพื่อนร่วมงาน เขาสามารถผลิตเทคโนโลยีพลิกโลกให้เปลี่ยนไป ดังที่รู้ว่า เขาและทีมงานเป็นผู้ผลิต ไอแพด ไอพอด ไอโฟน และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้เกิดจากสมองและสองมือทั้งสิ้นจนอาจกล่าวได้ว่าอารยธรรมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และทำให้ให้โลกก้าวทันเทคโนโลยีมากขึ้น 


2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร

                ดิฉันจะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ดีที่สุดและทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใดก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ เพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความสามารถที่เขามีออกมา

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร

                ในอนาคตดิฉันจะเป็นครูผู้สอนและดิฉันจะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดยผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ สามารถนำไปใช้ได้จริงดิฉันจะนำมาประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น จะจัดกิจกรรมผู้เรียนรู้มากที่สุด และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถของเขามากที่สุดเพื่อที่จะต่อยอดความสามารถของเขาได้




วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่7

โทรทัศน์ครู

สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน
สอนสังคมศึกษา ศาสนา แลวัฒนธรรม เรื่องการดูแลใส่ใจห่วงใยสิ่งแวดล้อม
ครูผู้สอนชื่อ ว่าที่ร้อยตรี สชญา หล้าอินเชื้อ
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่5


เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้เด็กวิเคราะห์ข่าวสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เห็นที่เกิดขึ้นเช่นน้ำท่วม แผ่นดินไหว วิกฤตภาวะโลกร้อนสภาพน้ำท่วมโลกจากเหตุที่เกิดขึ้นล้วนมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ครูให้นักเรียนคิดหาแนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อจะเป็นการแก้ปัญหาที่สามารถดำเนินกิจกรรมได้จริงในชุมชนของเรา นักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์โครงการและนำเสนอโครงการที่จะนำไปสู่การปฎิบัติ เมื่อได้โครงการที่จะทำแล้วจึงกำหนดรายละเอียดกิจกรรมโครงการรายละเอียดสิ่งที่จะต้องทำ


จัดกิจกรรมการสอนด้าน(สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ ,คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
สติปัญญา=IQ
นักเรียนมีการเรียนรู้จากธรรมชาติของความเป็นจริงในเรื่องของการห่วงใยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมของชุมชน การเรียนรู้ทีดีนั้นจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของชุมชนตลอดจนในเรื่องของสิ่งแวดล้อม
อารมณ์=EQ
นักเรียนมีอารมณ์แจ่มใสเกิดความสนุกสนานในการเรียนไม่เครียด มีอารมณ์ร่วมในการเรียนการสอนทำให้การสอนดำเนินไปด้วยดี
คุณธรรมจริยธรรม=MQ
นักเรียนมีความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมมีน้ำใจช่วยเหลือในการแสดงออกความคิดเห็นการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียนและนอกห้องเรียน


บรรยากาศการจัดห้องเรียนเป็นอย่างไร
การจัดโต๊ะนั่งจะจัดเป็นกลุ่มให้นักเรียนนั่งเรียน เรียนเป็นกลุ่ม ห้องเรียนโล่งสบาย มีมุมหนังสือ มุมจัดบอร์ด มุมนั่งเล่น จัดอย่างเป็นระเบียบ และอย่างให้นักเรียนศึกษานอกห้องเรียนด้วยเพื่อที่จะฝึกทักษะความรู้ต่างๆมากมายด้วย








วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่5





คุณครูที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ


ประวัติ
นายเลอสรร ตระกูลเงินไทย
นายเลอสรร ตระกูลเงินไทย ตำแหน่ง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสุรินทร์ภักดี ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2501 ณ บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และได้ย้ายตามครอบครัวไปอยู่ที่ บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2503 เนื่องจากบิดาได้เดินทางมารับราชการที่ภูมิลำเนาเดิม
ประวัติการศึกษา
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ที่โรงเรียนวัดสามัคคี ตำบลท่าสว่าง
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-7 ที่โรงเรียนเมืองสุรินทร์
-
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่โรงเรียนสุรวิทยาคาร
-
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนครฯ
-
จบปริญญาตรี จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิชาเอกพลศึกษา วิชาโทจิตวิทยาการศึกษาและ
การแนะแนว (ศศ.บ.) ปีพ.ศ.2522
-
จบปริญญาโท จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิชาเอกพลศึกษา วิชาโทจิตวิทยาการศึกษาและ
การแนะแนว (ศศ.ม.) ปีพ.ศ. 2535
ประวัติการทำงาน
เริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์1 ระดับ3 ที่โรงเรียนประสาทวิทยาคาร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่,อาจารย์ใหญ่โรงเรียนไทรแก้ววิทยา ผู้อำนวยการโรงเรียนกุดไผทประชา-สรรค์,ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกยางวิทยา และปัจจุบันผู้อำนวยการโรงเรียนสุรินทร์ภักดี
ประสบการณ์การทำงาน
-
อดีตคณะกรรมการสภานักเรียน โรงเรียนอำนวยศิลป์
-
อดีตประธานเชียร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 3
-
อดีตนักกีฬามหาวิทยาลัย (มวยไทย ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-
วิทยากร ให้ความรู้ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ด้านกิจกรรม ฯลฯ
-
พิธีกร การดำเนินรายการในงานพิธีต่างๆ
-
กรรมการตัดสินกีฬา เทนนิส วอลเลย์บอล มวย ฯลฯ
ประวัติการอบรมและศึกษาดูงาน
-
ผ่านการอบรมผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ
-
ผ่านการอบรม กรรมการตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล,เทนนิส จากสมาคมฯ
-
ผ่านการอบรมการพัฒนาบุคลิกภาพ, เทคนิคการเป็นพิธีกร
-
ผ่านการอบรมหลักสูตรชุมชนเข้มแข็ง,หลักสูตรยุทธวิธีการเขียนแผนเชิงปฏิบัติการและการประเมินผลโครงการตามแนวปฏิรูปการศึกษา จากสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษาฯ
-
ผ่านการอบรมวิทยากร ด้านวิชาการ,ด้านการบริหารโรงเรียน ฯลฯ
-
ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาที่ประเทศ ออสเตรเลีย ตามโครงการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานสามัญศึกษา จังหวัดสุรินทร์
-
ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาที่ประเทศนิวซีแลนด์ ในโครงการ Educator Program ของ AFS
-
ศึกษาดูงานการจัดการศึกษา ที่ประเทศลาว,กัมพูชา,เวียดนาม,เมืองต้าเหลียนประเทศจีน
เกียรติประวัติ
-
ผู้บริหารดีเด่น โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก เขตการศึกษา 11
-
ผู้บริหารดีเด่น โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย
-
ผู้บริหารดีเด่น ของคุรุสภา อำเภอปราสาท
-
ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1เจตนารมณ์ในการปฏิบัติงาน
การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ความสมบูรณ์จะเป็นไปได้ยาก หากขาดการฝึกฝนที่ถูกต้องดีงาม การศึกษาจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการช่วยให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ ดังกล่าว
โรงเรียนจึงเป็นสถาบันหลักแห่งหนึ่งที่ช่วยจรรโลงให้มนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐอย่างแท้จริง โดยเป็นสถานที่อบรม บ่มนิสัย ถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามจากบรรพบุรุษสู่อนุชนคนรุ่นหลัง
ข้าพเจ้าโชคดีที่ได้เลือกประกอบอาชีพครู แม้เป้าหมายครั้งแรกจะไม่ใช่ก็ตามแต่เมื่อได้สัมผัสและอยู่กับเด็กนักเรียนอย่างหลากหลาย ทำให้เห็นถึงความน่ารักอันบริสุทธิ์ใสซื่อ และความแตกต่างทางฐานะความเป็นอยู่ ความด้อยโอกาสทางสังคม ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากสังคม ใครเล่าจะทำหน้าที่นี้ได้ดีเท่ากับครู เพราะครู คือวิศวกรผู้สร้างคน ให้เป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ ยกระดับจิตวิญญาณให้เป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แม้จะเป็นงานที่แสนยากแต่ก็ท้าทายต่อความสามารถ แม้จะเป็นงานที่แสนเหนื่อย แต่ผลผลิตที่ออกมาดี มีคุณภาพ ก็เป็นผลงานอันน่าอิ่มเอิบใจของคนเป็นครู
ครูที่ดีมีความรู้ ครูที่ทุ่มเทเพื่อศิษย์ เป็นครูด้วยจิตวิญญาณมีมากหลาย สังคมให้ความเคารพ นับถือ เป็นกำลังใจที่ดีเยี่ยม ขอคุณครูทั้งหลายจงภาคถูมิใจในการทำความดีด้วยจิตอันบริสุทธิ์ อานิสงค์จากการทำความดีจะส่งผลต่อคุณครูและครอบครัวอย่างแน่นอน
เราจะสร้างนักเรียนที่มี คุณภาพควบคู่คุณธรรม เพื่อสร้างคุณประโยชน์ และดำรงตนอย่างมีคุณค่าอยู่ในสังคม
ผลงานของคุณครูที่เราชื่นชอบ
เพราะอาจารย์มีผลงานและประสบการณ์มากมายที่หนูชื่นชอบและงานของแก่ล้วนเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานการศึกษาซึ่งงานแต่ละชิ้นล้วนมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่ข้าพเจ้านำมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
ข้าพเจ้ามีท่านเป็นบุคคลตัวอย่างที่จะเป็นแบบชี้แนวทางในการทำงานในอนาคตต่อไปและเป็นแรงจูงใจในการเป็นครูที่ดีให้ข้าพเจ้า

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4

เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
     การทำงานเป็นทีม จะทำงานได้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสอนอย่างเป็นสำคัญ คือสามารถในการใช้วิชาความรู้และสามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นและจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตทั้งกายและใจ จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน การทำงานเป็นทีม จะเป็นประโยชน์สูงสุดขององค์กร และมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่าทำงานคนเดียว แต่การใช้ทีมงานนั้นต้องใช้เวลาในการพัฒนาบุคคล และพัฒนาทีมงานพอสมควร จึงจะเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
ทีม (Team) หมายถึง บุคคลที่ทำงานร่วมกันอย่างประสานงานภายในกลุ่ม เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ในการทำงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ “การทำงานเป็นทีม” เป็นความร่วมมือร่วมใจของบุคคล เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
   1.การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
   2.แรงจูงใจของมนุษย์
   3.ธรรมชาติของมนุษย์
ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
   ทีมงานที่มีประสิทธิภาพควรเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน เปิดเผยจริงใจและร่วมกันแก้ปัญหา สนับสนุนไว้วางใจ ยอมรับ และรับฟังกัน ร่วมมือกัน ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์ ทบทวนการปฏิบัติงานและตื่นตัวตลอดเวลา มีการพัฒนาตนเอง รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน และสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี
ตอบคำถาม เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
1.แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร
แนวคิดและหลักการทำงานเป็นทีมนั้นควรมี 3 ประการคือ การยอมรับความแตกต่างของบุคคล มีแรงจูงใจของธรรมชาติมนุษย์
2.นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ
การทำงานเป็นทีมที่ให้มีประสิทธิภาพนั้นเราควรมีความสามารถในการใช้วิชาความรู้และความสามารถ ของทุกคนในการทำงานร่วมกันในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นและในการทำงานนั้นไม่ควรมีการแบ่งหน้าที่ไปด้วยตนเองเราควรปรึกษาหารือกันและแบ่งงานกันตามความสามารถของบุคคล เพราะเราจะได้รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น และได้เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงานและสามารถร่วมกลุ่มกันทำงานได้เป็นอย่างดี และสมาชิกต้องทุ่มเทกำลังกาย ความคิด เพื่อที่งานจะได้ออกมามีประสิทธิภาพและทุกคนจะต้องตระหนักเสมอว่างานที่ทำสำเร็จนั้นเป็นผลงานของทีม ไม่ใช่ผลงานของคนใดคนหนึ่ง

กิจกรรมที่ 3

 1.การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร
ในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต ดังนั้นเมื่อถึงระยะหนึ่ง การเรียนรู้ก็จะสิ้นสุดลงเพื่อการเริ่มต้นของชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโรงเรียน โดยจะมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ หรือผู้ที่มีความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ การศึกษานี้จะเกิดขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น จึงต้องการหลักสูตรที่มีการกำหนดรายละเอียดของเนื้อหาไว้ทั้งหมดแล้ว คนที่จดจำความรู้ได้มาก ย่อมเรียนรู้ได้ดีกว่าคนที่จดจำความรู้ได้น้อย
             ส่วนในยุคศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้คือชีวิต เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเรียนรู้ (learning animal) และตราบที่ยังมีชีวิตอยู่ มนุษย์จึงต้องเรียนรู้ไปด้วย การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่ง และเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้
ซึ่งมนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยที่โรงเรียนต้องมีหลักสูตรที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลได้ มนุษย์สามารถเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเองได้ว่าจะเรียนอะไร เรียนอย่างไร

2.ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
ในอนาคตข้างหน้าครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ในการสอนไม่ใช่ว่าเฉพาะเรื่องที่สอนแต่จะต้องมีความรู้ที่หลากหลาย ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอยู่ตลอดเวลา จะต้องหาเครื่องใหม่ๆมาใช้สอน จะต้องมีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย จะต้องมีความคิดเป็นของตนเอง จะต้องศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ และที่สำคัญครูจะต้องทำสื่อการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสอนด้วยเพื่อที่นักเรียนจะได้ความรู้มากขึ้น

กิจกรรมที่ 2


ทฤษฏีการบริหารการศึกษา


 Abraham Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น
 ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์  (Maslow’s Hiarachy of Needs)  เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ ถ้ามนุษย์ได้รับการตอบสนองที่ต้องการ ย่อมเกิดความพึงพอใจ และช่วยให้มีความสุข มาสโลว์ จึงได้แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
            1.ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน  
            2.ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง 
            3.ความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ เป็นความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม 
            4.ความต้องการการยกย่อง
            5.ความต้องการความสำเร็จในชีวิต เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น   

Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี
 เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ทฤษฎี X เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ทฤษฎี Y เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน           


William Ouchi : ทฤษฎี Z
เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน หรือเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎี Z ซึ่งเกิดจากคนอเมริกัน ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น ชื่อ วิลเลี่ยม โอชิ ได้ศึกษาวิจัยว่า แนวความคิดในการบริหารจัดการของโลก
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1. Individualism คือ การที่สังคมอเมริกันเป็นสังคมแบบ ปัจเจกบุคคล ซึ่งจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองมาแต่อดีต
2. Short Term Employment คือ การจ้างงานในระยะสั้น คนอเมริกันมักไม่มีความผูกพันในครอบครัว ในที่ทำงาน พร้อมเสมอที่ออกจากงาน ย้ายงาน
3.Individual Decision Making สูง มีความมั่นใจในการตัดสินใจ กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องไปดูแลอย่างใกล้ชิด ผลเสียคือ ขาดการทำงานเป็นทีม

Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่   
เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา  หรือการสั่งการ วิญญาณแห่งหมู่คณะ

อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)
เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ 
1. การจัดแบ่งงาน
2. การมีอำนาจหน้าที่
3. ความมีวินัย
4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา
5. เอกภาพในทิศทาง
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม
8. ระบบการรวมศูนย์
9. สายบังคับบัญชา
10. ความเป็นระบบระเบียบ
11. ความเท่าเทียมกัน
12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร
13. การริเริ่มสร้างสรรค์
14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ        

แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber)
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy ซึ่งเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสมแล้ว เวเบอร์มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การ 6 ประการ ได้แก่
 1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่าย และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับ
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็น
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่
 6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ                            

Luther Gulick
เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการ มาใช้ในการบริหาร ดังนี้ 
1. P คือการวางแผน (planning)
2. O คือการจัดองค์การ (organizing)
3. D คือการสั่งการ (directing)
4. S คือการบรรจุ (staffing)
5. CO คือการประสานงาน(co-ordinating)
6. R คือการรายงาน (reporting)
7. B คือการงบประมาณ (budgeting)

Frederick Herzberg 
เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน ซึ่งเขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors

Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง 
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงาน

Henry L. Gantt 
เป็นผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart) ซึ่งเป็นแนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน


การบริหารการศึกษา

บทที่ 1 มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การบริหาร  เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์  ซึ่งเป็นการจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆของรัฐ ส่วนการบริหารของรัฐ  คือ  การบริหารหรือการจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีระเบียบ สำหรับความสำคัญของการบริหารนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของ มนุษย์ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขและรู้จักพัฒนาตนเอง    การบริหารการศึกษา  หมายถึง  กิจกรรมต่างๆ  ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ  เพื่อพัฒนาสมาชิกสังคมในทุกๆด้าน   การบริหารถือเป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะต้องได้รับการอบรมมากพอถึงจะเป็นนัก บริหารได้ และจะเป็นผู้บริหารที่ดีได้จะต้องมีความสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์อย่างมีศิลปะ

บทที่  2 วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการ ด้านรัฐกิจ เริ่มจากยึดโครงสร้างการบริหารในรูปองค์การรูปนัย  แล้วหันมาเน้นพฤติกรรมองค์การและเรื่องของมนุษยสัมพันธ์  หลังจากนั้นจึงมาใช้ร่วมกัน ส่วนวิวัฒนาการด้านธุรกิจในระบบมีการใช้วิธีฝึกจากการทำงานการจัดการ เป็นสาขาที่สำคัญ  นอกจากการใช้  ระเบียบวินัยในการทำงานการบริหารด้านธุรกิจมีการวางกฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติวัตถุประสงค์และการรวมพลังของกลุ่ม  ดังนั้นปรัชญาของการบริหารธุรกิจจึงมุ่งแสวงหากำไรมากกว่าอย่างอื่น  ผลประโยชน์นายทุนเป็นเป้าหมายสำคัญในการแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร จะแบ่งได้ดังนี้ในยุคที่ 1 นัก ทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม จะจัดการงานซึ่งได้ปฏิบัติ โดยอาศัยหลักควบคุมทางวินัย ส่วนการประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษาจะมี ความสับสนมาก  การต่อรองการแสดงความไม่พอใจของพนักงานในเรื่องอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารมี อยู่เสมอ  ทฤษฎีสมัยเดิมเริ่มไม่สู้เหมาะสม  ผู้บริหารจะคำนึงการใช้อำนาจอย่างที่เคยได้รับความเชื่อถือก็ย่อมต้อง เปลี่ยนแปลง ใน ยุคที่2  ยุค  Human  Relation  Era  ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ความรู้ความชำนาญของผู้ บริหาร  คือ  ผู้บริหารต้องมีความรู้  ความฉลาด  และมีประสบการณ์เพื่อมาเป็นผู้นำหือหังฃวหน้ากลุ่ม ส่วนการประยุต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษาเราสามารถนำหลัก มนุษยสัมพันธ์มาใช้ในการบริหารการศึกษา ส่วนในยุคที่3  ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ เป็นการจัดองค์การที่เป็นทางการจึงให้ทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษย สัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล  มุ่งด้านระบบขององค์การ  และสนใจจะพูดถึงพฤติกรรมศาสตร์

บทที่  3 งานบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาจะไม่แตกต่างกับการบริหารงานทั่วไป กล่าวคือสามารถนำหลักการของของการบริหารทั่วไปมาใช้กับการบริหารศึกษาได้ ผลเสียของการบริหารดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ง่าย  เพราะจะมีลักษณะเผด็จการโดยการสั่งการสั่งจากเบื้องบน  มีคำสั่งให้ครูปฏิบัติและมีข้อห้ามในการกระทำ  และมีการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษหากผู้ใดฝ่าฝืนและลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้
1.การผลิต คือ กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน คือ กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี คือ การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร คือ การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน คือ เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา

บทที่  4 กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การ บริหารการศึกษาเป็นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน  ที่เรียกว่าการบริหารการศึกษาสิ่งที่ทำให้การบริหารการศึกษา  การบริหารราชการ  และการบริหารธุรกิจจะแตกต่างกัน  และปรัชญาการศึกษา  ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร  ที่สามารถนำไปเป็นหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี  2 เรื่อง คือ 
1.การจัดระบบสังคม
2.เป้า หมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา สำหรับหลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับชาติ  ระดับท้องถิ่น  ระดับโรงเรียน คือจะต้องรู้จักเด็กทุกคน  โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และมีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียน อย่างเท่าเทียมกันโดยกระบวนการบริหารการศึกษา  เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษา ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน

บทที่  5 องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ ตามแนวคิด หมายถึงส่วนประกอบที่เกิดจากระบบย่อยหลายระบบที่มีปฏิสัมพันธ์  กันภายใต้สิ่งแวดล้อมหรือระบบใหญ่ เราสามารถจำแนกองค์การที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น  3  ลักษณะใหญ่ๆคือ
          -องค์การทางสังคม
            - องค์การทางราชการ
             -องค์การเอกชน
                          
แนวคิดในการจัดองค์การ
1.  แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2.  แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง  ผู้ปฏิบัติงาน
3.  แนวในการจัดการองค์การ  จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
     ความ สำคัญของการจัดองค์การเป็นที่รวมของคนและเป็นที่รวมของงานต่างๆ  เพื่อให้พนักงานขององค์การ  ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ

องค์ประกอบในการจัดองค์การ
                1.  หน้าที่การงานเป็นภารกิจ
                2.  การแบ่งงานกันทำ
                3.  การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ
    ทฤษฎีองค์การ  ความรู้ที่ได้จากทฤษฎีขององค์การมาจากสังคมวิทยา  รัฐศาสตร์  และบางส่วนของจิตวิทยาสังคมกับเศรษฐศาสตร์                
ระบบราชการและองค์การทางการศึกษา ให้ความหมายไว้ว่าระบบราชการ  หมายถึง  ระบบการบริหารที่มีลักษณะรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก  มีความอิสระในการปฎิบัติงานและเป็นกึ่งทหาร

บทที่ 6 การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่ดี มีความหมายว่ากระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูลเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อการแลกเปลี่ยน ความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันและยังมีความสำคัญในการดำเนินการ ในองศ์การอย่างมาก ปัจจัยในการติดต่อสื่อสารมี 3 ตัว คือ สื่อ ช่องทางที่สื่อผ่านและกระบวนการ รูปแบบของการติดต่อสื่อสาร การจัดเตรียม การสังเกตการณ์ของกระบวนการ การจำแนกปัจจัยผันแปร ชึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดทิศทาง ช่วยให้ผู้บริหารจับประเด็นปัญหาของการติดต่อสื่อสาร และช่วยป้องกันความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารจะมีผู้ส่งสาร ช่องทาง ข้อมูล ผู้รับสาร การตอบรับ ส่วนการติดต่อสื่อสารจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสารมีความเข้าใจระหว่างผู้ปฎิบัติงานเพื่อการทำงานไปด้วยดี ช่วยสร้างทัศนคติเกิดแรงจูงใจ เพื่อเกิดแรงจูงใจ


บทที่ 7 ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน ในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ โดยใช้กระบวนการติดต่อชึ่งกันและกัน หน้าที่ผู้นำเกี่ยวข้องกับ การอำนวย การจูงใจ การริเริ่ม กำหนดนโยบาย วินิจฉัยสั่งการ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ มีผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์ ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน ผู้นำจะกลุ่มยกย่องเนื่องจากมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษเหนือบุคคลอื่นเนื่องจากผู้บริหารมีรูปแบบเป็นทางการ

บทที่ 8 การประสานงาน
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่งๆร่มมือปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย ความมุ่งหมายในการประสานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงานคือต้องทราบนโยบาย แผนงาน งานที่รับผิดชอบ และทรัพยากร ส่วนหลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสาร ความร่วมมือ การประสานงานและนโยบายที่ดี และในการประสานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วควรจะมีโครงสร้างที่จัดเป็นระบบแบบแผน มีแผนภูมิแสดงสายการบังคับ มีการเขียนนโยบาย มีระบบเสนองาน มีเครื่องมือและระบบสื่อสารที่เพียงพอและเปิดโอกาสให้กับผู้เข้าร่วม การประสานงานที่ดีจะมีประโยชน์หลายอย่างคือช่วยลดการขัดแย้ง ลดปัญหาที่ซับซ้อน ทำให้เกิดเอกภาพในการทำงาน ช่วยให้ประหยัดเงิน เวลา

บทที่ 9 การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การ ตัดสินใจคือการชั่งใจไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่ กำหนดไว้ ส่วนการวินิจฉัยสั่งการคือการสั่งงานหรือการพิจารณาตกลงชี้ขาดจากทางเลือก ที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางขึ้นไป หลักการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ บางครั้งตัดสินใจถูกแต่การสั่งงานผิดพลาดอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่งาน  ลักษณะการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารที่ดี จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ความแน่นอน ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ประสบการณ์ในการทำงาน ทัศนคติ บุคลิกภาพที่มีอิทธิพล ความลำเอียงส่วนบุคคล ความโดดเดี่ยว ประสบการณ์ การรู้โดยความรู้สึก และการแสวงหาคำแนะนำ

บทที่ 10 ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ  จะมีหลายด้าน ดังนี้
  1.การบริหารงานวิชาการ จะเป็นหัวใจของการบริหารในโรงเรียน ลักษณะและความสำคัญของงานวิชาการ จึงถือว่างานวิชาการท้าทายผู้บริหารการศึกษา งานวิชาการจะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และผู้บริหารจะต้องรับรู้ รับผิดชอบ ควบคุมดูแลในการดำเนินการวางแผน 
 2.การบริหารบุคคล คือการจัดงานเกี่ยวกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมให้กำลังใจผู้ปฎิบัติให้ทำงานอย่างมีปะสิทธิภาพ  ความสำคัญของการบริหารบุคคล คือ คนเป็นผู้บันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อสรรหาและเลือกสรรคนดี มีความรู้ความสามารถมาทำงานให้เกิดผลสูงสุดอยู่กับองศ์การนานๆ 
 3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ความสำคัญจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นให้เครื่องจักร(งานวิชาการ) ทำงานได้ดีและเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน หน้าที่ของผู้บริหารงานธุรการ คือจะเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายงานธุรการ ติดตามและวางแผนการปฎิบัติงาน จัดระบบงาน
 4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม ต้องให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเสมอภาค ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด  
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ