วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

          ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
       1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
                จากการศึกษาบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ในจำนวน 3 บทความนั้น ถ้าเราจะกล่าวถึงคำว่า แท็บเล็ต ( Tablet ) นั้นในความเข้าใจของบุคคลส่วนใหญ่ แท็บเล็ต เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกพาง่าย น้าหนักเบา มีคีย์บอร์ด ( keyboard ) ในตัว หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ( Touch-screen )ปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป ระบบปฏิบัติการมีทั้งที่เป็น Android IOS และ Windows ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีทั้งที่เป็น Wi-Fi และ Wi-Fi + 3G
               แต่ความหมายที่แท้จริงของแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์กระดานชนวนก็คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้คานิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไปเช่น แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC ) ซึ่งมาจากคาว่า Tablet Personal Computer และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet )
               แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC : Tablet Personal Computer ) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทางาน ออกแบบให้สามารถทางานได้ด้วยตัวมันเองซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากแท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC ) ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่จะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่จะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน Tablet PC จะมีอุปกรณ์ไร้สายสาหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน มีระบบปฏิบัติการทั้งที่เป็น Windows และ Android
               แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet Computer / Tablet ) หรือที่เรียกชื่อสั้นๆว่า “แท็บเล็ต” คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ขณะเคลื่อนที่ได้ มีขนาดกลางกะทัดรัดและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นลำดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริง หรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ดและมีความหมายครอบคลุมไปถึงโน๊ตบุ๊คแบบ Convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดเสมือนจริงติดมาด้วย ในสังคมยุคปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ( Learning Society )
               ในปัจจุบันนั้น สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะมีบทบาทสำคัญค่อนข้างมากต่อการนำมาใช้ในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพทางการเรียนในสังคมยุคใหม่ในปัจจุบันที่สื่อการศึกษาประเภท “คอมพิวเตอร์ ( Computer )”จะมีอิทธิพลค่อนข้างสูงในศักยภาพการปรับใช้ดังกล่าว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาไทยตามนโยบายการ แจกแท็บเล็ตเพื่อเด็กนักเรียนในปัจจุบันโดยมุ่งเน้นให้กลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการ One Tablet PC Per Child ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่แถลงไว้นั้น เป็นการสร้างมิติใหม่ของการศึกษาไทยในการเข้าถึงการปรับใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ( นายวรวัจน์ เอื้ออภิญกุล ) ได้กล่าวไว้ว่าการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียนโดยเริ่มดาเนินการในโรงเรียนนาร่องสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาสาระที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในระดับการใช้ การบริหารและในพื้นที่สาธารณะและสถานศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
                จากประเด็นที่กล่าวถึงนี้อาจสรุปได้ว่าศักยภาพของสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาประเภทคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ( Tablet PC )ที่เริ่มมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อผู้ใช้ในทุกระดับในสังคมสารสนเทศในปัจจุบัน เนื่องจากในยุคแห่งสังคมออนไลน์หรือยุคเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นั้นมีอิทธิพลมากในปัจจุบันนี้และนอกจากนั้นยังได้รับค่านิยมมากอีกด้วย
                ในการใช้แท็บเล็ต ( Tablet PC ) โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตพีซีเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิผล โดยพบว่าการใช้แท็บเล็ตพีซีช่วยเพิ่มแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรียน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าและการเข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียนสาหรับในด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนนั้นพบว่า การใช้แท็บเล็ตพีซีนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน และส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบมากขึ้น อย่างไรก็ตามการสร้างให้เกิดผลสาเร็จดังกล่าวนั้น ต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนและการจัดการในด้านต่างๆจากผู้บริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนให้มีเครือข่ายสื่อสารแบบไร้สาย ( Wireless Network ) และเครื่องฉายภาพแบบไร้สาย( Wireless Data Projector )ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถสร้างและใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งควรจัดให้มีการวางแผนจัดหาทรัพยากรมาสนับสนุนอย่างเป็นระบบ ซึ่งท้ายที่สุดจะพบว่าการใช้แท็บเล็ตพีซีนั้น จะสามารถสร้างให้เกิดประโยชน์ที่หลากหลายและมีความคุ้มค่ามากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ทอป ( Desktop ) และคอมพิวเตอร์แล็บทอป ( Laptop ) ประกอบการเรียนการสอนที่มีใช้งานกันอยู่ในสถานศึกษาโดยทั่วไป 
                 คุณลักษณะของแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย ซึ่งการเรียนรู้บางครั้งต้องอาศัย "การจำลองสถานการณ์" หรือ "การทดลองเสมือนจริง" ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ผ่านช่องทางสื่อสารหรือเครือข่ายสังคมต่างๆ "การใช้แท็บเล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครู ที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กผสมผสานกับกระบวนการต่างๆ ในโรงเรียน ซึ่งยากกว่าการบรรจุสื่อลงในแท็บเล็ต เด็กๆ ที่ใช้แท็บเล็ตตั้งแต่เล็กจะรับรู้และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและสร้างโลกส่วนตัว เริ่มรู้สึกว่ามีอิสรภาพทางความคิด สังคมและความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นวัตถุมีความสำคัญมากล้น แต่จิตวิญญาณอาจจางลง โลกจะกลับมาทำให้ผู้คนไม่สนใจคนข้างเคียง ไม่อยากพูดคุยกับคนที่อยู่ใกล้"

     ที่มา : http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=41993028    http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492166

         2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
                  จาการศึกษาเรื่องสมาคมอาเซียน หรือ ASEAN Community Community ) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ , อินโดนีเซีย , มาเลเซีย , ฟิลิปปินส์ , บรูไน , เวียดนาม , ลาว , พม่า และกัมพูชา มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศรษฐกิจที่โตมาก การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งในความเป็นจริงประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งอาเซียน โดยมี ๓ เสาหลัก ได้แก่ ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง และความร่วมมือทางสังคม วัฒนธรรม ซึ่งเสาหลักความร่วมมือทางสังคมมีความก้าวหน้ามากที่สุด โดย ศธ.ได้เตรียมความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
                 สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันในประชาคมอาเซียนการศึกษาไทยจึงเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยการศึกษาเป็นกลไกในการปลูกฝังค่านิยม แนวความคิด ความเข้าใจกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ของอาเซียนและเศรษฐกิจโลก
                  ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางการเมืองระหว่างประเทศที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ได้นำมาซึ่งทั้งโอกาสและความท้าทายที่อาเซียนต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น หรือการเผชิญกับภัยคุกคามที่มาในรูปแบบใหม่ การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสันติภาพและความมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคอันถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ บนพื้นฐานของหลักการว่าด้วยความมั่นคงของมนุษย์ และให้ประชาคมอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซี่ยนเคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคนทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ทั้งสิ้นตั้งแต่นายกรัฐมนตรีไปจนถึงเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ชาวบ้านทั่วไป นักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน ประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสันติภาพและความมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคอันถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ บนพื้นฐานของหลักการว่าด้วยความมั่นคงของมนุษย์ และให้ประชาคมอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซี่ยนเคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคนทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ทั้งสิ้นตั้งแต่นายกรัฐมนตรีไปจนถึงเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ชาวบ้านทั่วไป นักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน ประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น

        ที่มา : http://www.chusak.net/index.php
         http://km.cmarea3.go.th
         http://th.wikipedia.org

             3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
               จากบทความของผศ.ดร.สมาน ฟูแสงคณบดีคณะครุศาสตร์ ได้พูดถึงครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการว่า "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นที่ยอม รับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา)และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้" จากบทความดังกล่าวของผศ.ดร.สมาน ฟูแสง นั้น แสดงให้เห็นว่า การที่เราจะเป็นครูที่ดีนั้น ต้องมีความเป็นผู้นำสูง เพราะคำว่า ครู คือแม่พิมพ์ของชาติ ครูจะต้องเป็นผู้นำที่ดี คนที่จะเป็นครู จะต้องศรัทธาในวิชาชีพของตนเอง จะต้องมีจรรยาบรรณในความเป็นครูที่สมบูรณ์แบบ มีความไว้วางใจในอาชีพของตน สร้างแรงบันดาลที่จะเป็นผู้ให้จากใจและเป็นผู้นำที่ดี และยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล เป็นต้น เพื่อที่จะได้ไปสู้การเป็นครูที่ดีและสมบูรณ์แบบ มีความกล้าแสดงออก คนเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และความสามารถที่ดี รวมไปถึง ความประพฤติที่ดี เพราะครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนเพื่อที่นักเรียนจะประพฤติและปฏิบัติตาม เพราะปัจจุบันในสังคมของเรามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหลายสิ่งหลายอย่างด้วยกัน มีทั้งความทันสมัยของเทคโนโลยีต่าง บุคคลที่จะมาเป็นผู้นำคนอื่นนั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่เพรียบพร้อม และมีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำหากต้นแบบดี ก็จะทำให้ผู้ตามมีความเป็นภาวะผู้นำที่ดีเช่นเดียวกันตัวดิฉันเองก็จะขอเป็นครูที่ดี เป็นผู้นำที่ดี เช่นกัน

           4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้
                จากการศึกษาการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนั้น เริ่มแรกดิฉันได้ศึกษาจากอาจารย์ผู้สอนก่อน เมื่อเริ่มที่จะรู้ว่าการทำบล็อกทำอย่างไรแล้วหลังจากนั้น ก็ลงมือทำด้วยตนเองและก้ได้ฝึกทำไปเรื่อยๆจนเกิดการเรียนรู้ที่มีความพัฒนาขึ้นพอสมควรแต่อาจจะไม่ดีที่สุดถึงกับขั้นชำนาญ ปัจจุบันสังคมการเรียนรู้เริ่มมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นหากดิฉันได้ศึกษาที่จะเรียนรู้โดยการใช้บล็อก อนาคตข้างหน้าอาจจะ ทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และสามารถนำเอาความรู้ที่เราได้ศึกษามานั้นนำมาใส่ลงไปในบล็อกได้เหมือนเป็นการเก็บข้อมูลที่ดี และหากเราต้องการอยากทราบข้อมูลเหล่านั้นเราก็สามารถกลับมาดูได้อีกครั้ง ในการเรียนวิชานี้ดิฉันจึงอยากได้คะแนนที่ดี และอยากได้ เกรด A เพราะ
            1 ดิฉันมีความตั้งใจในการเรียนวิชานี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากวิชานี้สามารถนำไปใช้ในอนาคตข้างหน้าได้อย่างดี
            2 ดิฉันมีความตั้งใจทำงานทุกชิ้นที่อาจารย์สั่งและส่งครบตามกำหนด
            3 ดิฉันเข้าเรียนทุกครั้งที่มีเรียนในรายวิชานี้
            4 งานทุกชิ้นที่ดิฉันทำมาส่งอาจารย์มาจากความพยามยามและความตั้งใจของดิฉันโดยที่ไม่ลอกเลียน แบบใคร
            5 สิ่งที่ดิฉันกล่าวมานี้เป็นความจริงทุกประการ

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิกรรมที่9

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน          
         บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน   ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ 
ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
         
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน   หมายถึง   การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวน  การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน 
ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
         เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้
         1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
         2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
         3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข   มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
         4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
         5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
         6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
รูปแบบการจัดชั้นเรียน
          การจัดชั้นเรียนจัดได้หลายรูปแบบ โดยจัดให้เหมาะสมกับบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน จำนวนนักเรียน สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ขนาดของห้องเรียน เป็นต้น ครูควรได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการจัดโต๊ะ เก้าอี้ มุมวิชาการ และมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศของห้องเรียนให้น่าสนใจไม่ซ้ำซากจำเจ ไม่น่าเบื่อหน่าย นักเรียนจะเกิดความกระตือรือร้นและกระฉับกระเฉงในการเรียนดีขึ้น การจัดชั้นเรียนถ้าแบ่งตามวิธีการสอนจะได้ 2 แบบ คือ
1.ชั้นเรียนแบบธรรมดา
2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรม

กิจกรรมที่8

ครูมืออาชีพในอุดมคติ
            ครูมืออาชีพในอุดมคติของข้าพเจ้าจะต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียน และเยาวชนของชาติ การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชนของชาติ ดังคำกล่าวที่ว่าคุณภาพของเด็กสะท้อน คุณภาพของครู” ดังนั้นครูมืออาชีพควรมีและควรเป็นก็คือ ต้องเน้นคุณลักษณะพื้นฐานนั่นคือ ฉันทะ เมตตา และกัลยาณมิตร ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู และพัฒนาการสอนของครูซึ่งเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือ ครูมืออาชีพ จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำ ทำการสอนอย่างมีคุณภาพ มีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี เพื่อพัฒนาศักดิ์ศรีของอาชีพครูสืบไป
ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้
1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน
5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน
7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน

บทความเรื่องความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือครูจะต้องมีความรู้ที่ครอบคลุมรู้ลึก รู้จริงและรู้กระจ่างแจ้ง การที่ครูจะให้ศิษย์ทำอะไรเป็น ครูจะต้องทำเป็นก่อนและที่สำคัญเรียนรู้อะไรแล้วต้องรู้จักนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับชีวิตของตนเองไม่ใช่ลอกเลียนแบบของเขาทั้งหมด เพราะการเลียนแบบนั้นจะไม่เกิดผลประโยชน์กับตนเอง เมื่อรู้แล้วจะต้องนำมาปฏิบัติไม่ใช่เก็บความรู้ไว้ในตำราเรียน
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
                ถ้าได้เป็นครูผู้สอนดิฉันจะนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนคือจะเป็นผู้ที่เน้นการศึกษาและผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังที่พระองค์ได้เป็นแบบอย่างคือได้ทำให้ดูเพื่อที่พยายามจูงใจผู้เรียนให้มาสนใจ และจะอยู่บนฐานความดี และความถูกต้อง
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
                จะออกแบบการสอนโดยเน้นให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น รู้จักการแก้ปัญหาอย่างเช่น ถ้าครูจะสอนเกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วม อันดับแรก คือ ครูจะร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับนักเรียน หลังจากนั้นให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุและก็ปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วก็นำปัญหาที่ได้มาการแก้ปัญหาดังกล่าวสามารถนำแนวทางใดมาใช้ในการแก้ปัญหาได้บ้างเช่น หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากนั้นก็สรุปแบบองค์ความรู้ที่สมบูรณ์อีกครั้ง

บทความวิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์ THE STEVE JOBS WAY

ข้อสรุปที่ได้จากบทความ


           บนโลกแห่งโลกาภิวัตน์ใบนี้ เป็นสิ่งที่ผู้คนปฏิเสธไม่ได้ในเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งผู้ที่หลายคนยอมรับว่าเขามีบทบาทในเรื่องนี้คือ สตีฟ จ๊อบส์ สตีฟ จ๊อบส์ คือ มนุษย์ผู้หนึ่งที่มิได้มีมนต์วิเศษใดใดแต่เขาเป็นผู้ที่มีปัญญาสูง มีสมองที่ดีมาก มีความฉลาด ฉลาดในการวางแผน ฉลากในการเลือกเพื่อนร่วมงาน เขาสามารถผลิตเทคโนโลยีพลิกโลกให้เปลี่ยนไป ดังที่รู้ว่า เขาและทีมงานเป็นผู้ผลิต ไอแพด ไอพอด ไอโฟน และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้เกิดจากสมองและสองมือทั้งสิ้นจนอาจกล่าวได้ว่าอารยธรรมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และทำให้ให้โลกก้าวทันเทคโนโลยีมากขึ้น 


2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร

                ดิฉันจะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชา โดยใช้การสอนที่ทำให้นักเรียนทุกคนแสดงความสามารถของแต่ละคนออกมาให้ดีที่สุดและทำให้เขารู้ว่าเขามีความถนัดด้านใดก่อนที่จะสอนจะสอบถามถึงความชอบและถนัดในวิชาที่เรียนและนักเรียนเสนอแนวคิดและสิ่งที่จะเรียนที่แตกต่างกันออกไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ เพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความสามารถที่เขามีออกมา

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร

                ในอนาคตดิฉันจะเป็นครูผู้สอนและดิฉันจะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดยผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ สามารถนำไปใช้ได้จริงดิฉันจะนำมาประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น จะจัดกิจกรรมผู้เรียนรู้มากที่สุด และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถของเขามากที่สุดเพื่อที่จะต่อยอดความสามารถของเขาได้




วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่7

โทรทัศน์ครู

สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน
สอนสังคมศึกษา ศาสนา แลวัฒนธรรม เรื่องการดูแลใส่ใจห่วงใยสิ่งแวดล้อม
ครูผู้สอนชื่อ ว่าที่ร้อยตรี สชญา หล้าอินเชื้อ
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่5


เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้เด็กวิเคราะห์ข่าวสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เห็นที่เกิดขึ้นเช่นน้ำท่วม แผ่นดินไหว วิกฤตภาวะโลกร้อนสภาพน้ำท่วมโลกจากเหตุที่เกิดขึ้นล้วนมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ครูให้นักเรียนคิดหาแนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อจะเป็นการแก้ปัญหาที่สามารถดำเนินกิจกรรมได้จริงในชุมชนของเรา นักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์โครงการและนำเสนอโครงการที่จะนำไปสู่การปฎิบัติ เมื่อได้โครงการที่จะทำแล้วจึงกำหนดรายละเอียดกิจกรรมโครงการรายละเอียดสิ่งที่จะต้องทำ


จัดกิจกรรมการสอนด้าน(สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ ,คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
สติปัญญา=IQ
นักเรียนมีการเรียนรู้จากธรรมชาติของความเป็นจริงในเรื่องของการห่วงใยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมของชุมชน การเรียนรู้ทีดีนั้นจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของชุมชนตลอดจนในเรื่องของสิ่งแวดล้อม
อารมณ์=EQ
นักเรียนมีอารมณ์แจ่มใสเกิดความสนุกสนานในการเรียนไม่เครียด มีอารมณ์ร่วมในการเรียนการสอนทำให้การสอนดำเนินไปด้วยดี
คุณธรรมจริยธรรม=MQ
นักเรียนมีความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมมีน้ำใจช่วยเหลือในการแสดงออกความคิดเห็นการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียนและนอกห้องเรียน


บรรยากาศการจัดห้องเรียนเป็นอย่างไร
การจัดโต๊ะนั่งจะจัดเป็นกลุ่มให้นักเรียนนั่งเรียน เรียนเป็นกลุ่ม ห้องเรียนโล่งสบาย มีมุมหนังสือ มุมจัดบอร์ด มุมนั่งเล่น จัดอย่างเป็นระเบียบ และอย่างให้นักเรียนศึกษานอกห้องเรียนด้วยเพื่อที่จะฝึกทักษะความรู้ต่างๆมากมายด้วย








วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่5





คุณครูที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ


ประวัติ
นายเลอสรร ตระกูลเงินไทย
นายเลอสรร ตระกูลเงินไทย ตำแหน่ง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสุรินทร์ภักดี ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2501 ณ บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และได้ย้ายตามครอบครัวไปอยู่ที่ บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2503 เนื่องจากบิดาได้เดินทางมารับราชการที่ภูมิลำเนาเดิม
ประวัติการศึกษา
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ที่โรงเรียนวัดสามัคคี ตำบลท่าสว่าง
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-7 ที่โรงเรียนเมืองสุรินทร์
-
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่โรงเรียนสุรวิทยาคาร
-
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนครฯ
-
จบปริญญาตรี จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิชาเอกพลศึกษา วิชาโทจิตวิทยาการศึกษาและ
การแนะแนว (ศศ.บ.) ปีพ.ศ.2522
-
จบปริญญาโท จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิชาเอกพลศึกษา วิชาโทจิตวิทยาการศึกษาและ
การแนะแนว (ศศ.ม.) ปีพ.ศ. 2535
ประวัติการทำงาน
เริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์1 ระดับ3 ที่โรงเรียนประสาทวิทยาคาร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่,อาจารย์ใหญ่โรงเรียนไทรแก้ววิทยา ผู้อำนวยการโรงเรียนกุดไผทประชา-สรรค์,ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกยางวิทยา และปัจจุบันผู้อำนวยการโรงเรียนสุรินทร์ภักดี
ประสบการณ์การทำงาน
-
อดีตคณะกรรมการสภานักเรียน โรงเรียนอำนวยศิลป์
-
อดีตประธานเชียร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะกรรมการนักศึกษาชั้นปีที่ 3
-
อดีตนักกีฬามหาวิทยาลัย (มวยไทย ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-
วิทยากร ให้ความรู้ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ด้านกิจกรรม ฯลฯ
-
พิธีกร การดำเนินรายการในงานพิธีต่างๆ
-
กรรมการตัดสินกีฬา เทนนิส วอลเลย์บอล มวย ฯลฯ
ประวัติการอบรมและศึกษาดูงาน
-
ผ่านการอบรมผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ
-
ผ่านการอบรม กรรมการตัดสินกีฬาวอลเลย์บอล,เทนนิส จากสมาคมฯ
-
ผ่านการอบรมการพัฒนาบุคลิกภาพ, เทคนิคการเป็นพิธีกร
-
ผ่านการอบรมหลักสูตรชุมชนเข้มแข็ง,หลักสูตรยุทธวิธีการเขียนแผนเชิงปฏิบัติการและการประเมินผลโครงการตามแนวปฏิรูปการศึกษา จากสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษาฯ
-
ผ่านการอบรมวิทยากร ด้านวิชาการ,ด้านการบริหารโรงเรียน ฯลฯ
-
ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาที่ประเทศ ออสเตรเลีย ตามโครงการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานสามัญศึกษา จังหวัดสุรินทร์
-
ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาที่ประเทศนิวซีแลนด์ ในโครงการ Educator Program ของ AFS
-
ศึกษาดูงานการจัดการศึกษา ที่ประเทศลาว,กัมพูชา,เวียดนาม,เมืองต้าเหลียนประเทศจีน
เกียรติประวัติ
-
ผู้บริหารดีเด่น โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก เขตการศึกษา 11
-
ผู้บริหารดีเด่น โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย
-
ผู้บริหารดีเด่น ของคุรุสภา อำเภอปราสาท
-
ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1เจตนารมณ์ในการปฏิบัติงาน
การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ความสมบูรณ์จะเป็นไปได้ยาก หากขาดการฝึกฝนที่ถูกต้องดีงาม การศึกษาจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการช่วยให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ ดังกล่าว
โรงเรียนจึงเป็นสถาบันหลักแห่งหนึ่งที่ช่วยจรรโลงให้มนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐอย่างแท้จริง โดยเป็นสถานที่อบรม บ่มนิสัย ถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามจากบรรพบุรุษสู่อนุชนคนรุ่นหลัง
ข้าพเจ้าโชคดีที่ได้เลือกประกอบอาชีพครู แม้เป้าหมายครั้งแรกจะไม่ใช่ก็ตามแต่เมื่อได้สัมผัสและอยู่กับเด็กนักเรียนอย่างหลากหลาย ทำให้เห็นถึงความน่ารักอันบริสุทธิ์ใสซื่อ และความแตกต่างทางฐานะความเป็นอยู่ ความด้อยโอกาสทางสังคม ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากสังคม ใครเล่าจะทำหน้าที่นี้ได้ดีเท่ากับครู เพราะครู คือวิศวกรผู้สร้างคน ให้เป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ ยกระดับจิตวิญญาณให้เป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แม้จะเป็นงานที่แสนยากแต่ก็ท้าทายต่อความสามารถ แม้จะเป็นงานที่แสนเหนื่อย แต่ผลผลิตที่ออกมาดี มีคุณภาพ ก็เป็นผลงานอันน่าอิ่มเอิบใจของคนเป็นครู
ครูที่ดีมีความรู้ ครูที่ทุ่มเทเพื่อศิษย์ เป็นครูด้วยจิตวิญญาณมีมากหลาย สังคมให้ความเคารพ นับถือ เป็นกำลังใจที่ดีเยี่ยม ขอคุณครูทั้งหลายจงภาคถูมิใจในการทำความดีด้วยจิตอันบริสุทธิ์ อานิสงค์จากการทำความดีจะส่งผลต่อคุณครูและครอบครัวอย่างแน่นอน
เราจะสร้างนักเรียนที่มี คุณภาพควบคู่คุณธรรม เพื่อสร้างคุณประโยชน์ และดำรงตนอย่างมีคุณค่าอยู่ในสังคม
ผลงานของคุณครูที่เราชื่นชอบ
เพราะอาจารย์มีผลงานและประสบการณ์มากมายที่หนูชื่นชอบและงานของแก่ล้วนเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานการศึกษาซึ่งงานแต่ละชิ้นล้วนมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่ข้าพเจ้านำมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
ข้าพเจ้ามีท่านเป็นบุคคลตัวอย่างที่จะเป็นแบบชี้แนวทางในการทำงานในอนาคตต่อไปและเป็นแรงจูงใจในการเป็นครูที่ดีให้ข้าพเจ้า

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4

เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
     การทำงานเป็นทีม จะทำงานได้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสอนอย่างเป็นสำคัญ คือสามารถในการใช้วิชาความรู้และสามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นและจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตทั้งกายและใจ จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน การทำงานเป็นทีม จะเป็นประโยชน์สูงสุดขององค์กร และมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่าทำงานคนเดียว แต่การใช้ทีมงานนั้นต้องใช้เวลาในการพัฒนาบุคคล และพัฒนาทีมงานพอสมควร จึงจะเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
ทีม (Team) หมายถึง บุคคลที่ทำงานร่วมกันอย่างประสานงานภายในกลุ่ม เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ในการทำงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ “การทำงานเป็นทีม” เป็นความร่วมมือร่วมใจของบุคคล เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
   1.การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
   2.แรงจูงใจของมนุษย์
   3.ธรรมชาติของมนุษย์
ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
   ทีมงานที่มีประสิทธิภาพควรเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน เปิดเผยจริงใจและร่วมกันแก้ปัญหา สนับสนุนไว้วางใจ ยอมรับ และรับฟังกัน ร่วมมือกัน ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์ ทบทวนการปฏิบัติงานและตื่นตัวตลอดเวลา มีการพัฒนาตนเอง รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน และสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี
ตอบคำถาม เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
1.แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร
แนวคิดและหลักการทำงานเป็นทีมนั้นควรมี 3 ประการคือ การยอมรับความแตกต่างของบุคคล มีแรงจูงใจของธรรมชาติมนุษย์
2.นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ
การทำงานเป็นทีมที่ให้มีประสิทธิภาพนั้นเราควรมีความสามารถในการใช้วิชาความรู้และความสามารถ ของทุกคนในการทำงานร่วมกันในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นและในการทำงานนั้นไม่ควรมีการแบ่งหน้าที่ไปด้วยตนเองเราควรปรึกษาหารือกันและแบ่งงานกันตามความสามารถของบุคคล เพราะเราจะได้รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น และได้เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงานและสามารถร่วมกลุ่มกันทำงานได้เป็นอย่างดี และสมาชิกต้องทุ่มเทกำลังกาย ความคิด เพื่อที่งานจะได้ออกมามีประสิทธิภาพและทุกคนจะต้องตระหนักเสมอว่างานที่ทำสำเร็จนั้นเป็นผลงานของทีม ไม่ใช่ผลงานของคนใดคนหนึ่ง